ข้อมูลสำคัญ 10 เรื่อง จากรายงาน เต็ดตร้า แพ้ค อินเด็กซ์ 20
1. โควิด-19 เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของผู้บริโภค
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กลายเป็นความวิตกกังวลอันดับหนึ่งของผู้บริโภคแทนที่สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่ความกังวลในประเด็นเรื่องสุขภาพอื่นๆ ลดลงไปอย่างรวดเร็ว ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางอาหารและความมั่นคงทางอาหารได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมกับความพยายามของผู้บริโภคที่จะรักษาสมดุลระหว่างสิ่งเหล่านี้บนความวิตกกังวลด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งยิ่งตอกย้ำถึงภาวะวิกฤตที่พวกเขาต้องเผชิญอยู่ระหว่าง 2 เรื่องนี้
2. ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างความปลอดภัยทางอาหารกับสิ่งแวดล้อม
ความปลอดภัยทางอาหารถูกจัดอันดับเป็นความวิตกกังวลของผู้คนในลังคมเทียบเท่ากับเรื่องโควิด-19 ในปัจจุบันสุขภาพมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับประเด็นเรื่องความปลอดภัยทางอาหารและสุขอนามัย โดยผู้คนถึง 2 ใน 3 กล่าวว่า การมีสุขภาพที่ดีคือต้องมีความปลอดภัย การปรับปรุงในด้านอาหารปลอดภัยจึงถูกยกให้เป็นความสำคัญอันดับหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิต ความคาดหวังนี้จะยิ่งเพิ่มถุงขึ้นเมื่อเราจำเป็นต้องผลิตอาหารให้แก่ประชากรที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ บรรจุภัณฑ์อาหารจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง
3. ความโปร่งใสและความเชื่อมั่นมีความสำคัญยิ่งกว่าในอดีต
ผู้บริโภคถือว่าผู้ผลิตต้องรับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัยทางอาหาร ดังนั้น ความโปร่งใสจึงเป็นกุญแจสำคัญ โดยผู้บริโภคเกือบ 3 ใน 5 กล่าวว่าพวกเขาต้องการทราบข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการผลิตสินค้า โดยเฉพาะข้อมูลแหล่งผลิตที่เป็นตัวกระตุ้นการซื้อสินค้าที่สำคัญอย่างมาก
4. ขยะอาหารพุ่งขึ้นตามวาระ
ผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อห่วงโซ่อุปทานกระตุ้นให้เกิดการตระหนักว่า ขยะเศษอาหารถือเป็นปัญหาสำคัญ ผู้คนปัจจุบันมากกว่า 3 ใน 4 เห็นว่าขยะเศษอาหารกลายเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวล และผู้บริโภคเริ่มเล็งเห็นว่าการจำกัดปริมาณขยะเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด 1 ใน 3 ข้อสำหรับผู้ผลิต
5. ผู้บริโภคต้องการช่วยแต่ทว่าติดฉลากถือเป็นตัวแปรสำคัญ
ผู้บริโภคคิดว่าการป้องกันไมให้เกิดขยะเศษอาหารถือเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมอันดับหนึ่งที่พวกเขาสามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง แต่ความสับสนกับฉลากที่มีคำว่า “ควรบริโภคก่อน” นั้นยังเป็นอุปสรรค แม้กฎหมายระบุให้มีการแจ้งวันหมดอายุที่เรียบง่ายและชัดเจน แต่ควรมีการสื่อสารข้อมูลที่ดีกว่านี้ ซึ่งรวมถึงข้อมูลบนหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ที่เชื่อมต่อข้อมูลออนไลน์ได้
6. ความวิตกกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมยังคงมีอย่างชัดเจน
สิ่งแวดล้อมยังคงเป็นความวิตกกังวลหลักของคนทั่วโลกแม้เกิดสถานการณ์โควิด-19 ขึ้น ผู้บริโภค 2 ใน 3 เชื่อว่าเรากำลังมุ่งหน้าไปสู่หายนะ หากเราไม่ปรับเปลี่ยนนิสัยความเคยชินให้ทันท่วงทีโดยมีผู้คน 2 ใน 3 กล่าวว่า การล็อกดาวน์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้สภาพแวดล้อมในธรรมชาติฟื้นฟูขึ้น ซึ่งพวกเขาต้องการให้รักษาภาวะเช่นนี้ไว้ ก่อให้เกิดความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงรวมถึงโครงการเพื่อ “สร้างสิ่งที่ดีกว่าหลังผ่านพ้นวิกฤต”อีกมากมาย
7. บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ
ผู้บริโภคเล็งเห็นว่า บรรจุภัณฑ์ที่ยั้งยืนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้ผลิต โดยผู้คน 4 ใน 5 กล่าวว่า บริษัทต่าง ๆควรร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนการรีไซเคิลหรือการนำบรรจุภัณฑ์ของตนเองกลับมาใช้ซ้ำ กล่องเครื่องดื่มถูกพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ในขณะที่ขยะพลาสติกยังคงเป็นความวิตกกังวลหลัก ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมหันมาสนใจวัสดุที่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้
8. การเชื่อมโยงกันของแนวคิดต่าง ๆ มีมากขึ้น
การเชื่อมโยงกันของประเด็นเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ที่ได้ทำการสำรวจในรายงานเต็ดตรา แพ้ค อินเด็กซ์ของปีที่ผ่านมา พบว่ามีอัตราเชื่อมโยงเพิ่มสูงขึ้น และยังครอบคลุมถึงความวิตกกังวลในเรื่องอื่น ๆ ด้วย เมื่อประเด็นเรื่อง “ผู้คน” และ”โลก” เริ่มซ้อนทับกันมากขึ้น ในวันนี้ สุขภาพจึงถูกเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องความปลอดภัยทางอาหารและสุขอนามัย และในอีกด้านหนึ่งของสมการ ความวิตกกังวลที่มากขึ้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมก็ถูกเชื่อมโยงเข้ากับประเด็นเรื่องความยั่งยืนอื่น ๆ โดยเฉพาะเรื่องขยะอาหาร ซึ่งผู้บริโภคเชื่อว่าพวกเขาสามารถทำให้เกิดการจัดการกับเรื่องนี้ได้
9. สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ
สามารถปกป้องอาหารได้ยาวนานขึ้นเพื่อการแก้ไขปัญหาขยะจากนวัตกรรมที่ผู้คนต้องการเป็นอันดับหนึ่ง คือสิ่งที่อาหารและการคงคุณค่าทางโภชนาการ ลำดับต่อมาคือ ระบบแจ้งวันหมดอายุอัจฉริยะ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยแก้ไขปัญหาขยะอาหาร โดย 5 อันดับแรก ล้วนเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางอาหาร ส่วนด้านนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อมสองอันดับแรก คือการใช้บรรจุภัณฑ์ให้น้อยที่สุดและสามารถนำไปรีไซเคิลได้ ซึ่งจัดอยู่ในอันดับสูง ๆ เช่นกัน
10. บทสรุปสำคัญ
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงโลกในปัจจุบันอย่างมหาศาล โดยก่อให้เกิดภาวะที่ย้อนแย้งรูปแบบใหม่ต่อความวิตกกังวลและความจำเป็นของผู้บริโภค ทำให้ความปลอดภัยทางอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และขยะอาหารกลายเป็นปัญหาเร่งด่วนมากยิ่งขึ้น โดยที่ความวิตกกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมนั้นยังคงมีอยู่อย่างชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง เพียงแต่ขอบเขตเดิม ๆ เริ่มเลือนล้าง เมื่อประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับอาหารผู้คน และโลก เริ่มพัวพันกันมากขึ้น
ไม่มีโอกาสใดดีกว่านี้อีกแล้วที่เราควรเริ่มพูดคุยถกประเด็นกันในวงกว้าง ถึงเรื่องความยั่งยืนและบทบาทของบรรจุภัณฑ์ในอนาคต เพราะเราต้องการให้ประชากรโลกที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ สามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างปลอดภัยไปพร้อมกับการปกป้องโลกของเรา บริษัทต่าง ๆ สามารถแสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายด้วยการก้าวขึ้นสู่ความท้าทายใน 2 เรื่องนี้ และการแก้ไขวิกฤตความวิตกกังวลระหว่างเรื่องความปลอดภัยทางอาหารและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ปะทุขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19ในปัจจุบัน