ทิศทางของตลาด rPET ในโลกจะมีขนาด 2 เท่าในปี 2029

rPET-Recycle-Banner

rPET นำมา รีไซเคิล ลดปัญหาขยะ

จากแนวโน้มในทุกภาคส่วนของโลกที่ได้ตระหนักถึงภาวะโลกร้อน (Global Warming) วิกฤติขยะล้นโลก โดยเฉพาะขยะพลาสติกในมหาสมุทร ทำให้มีแนวคิดจากหลายทิศทางของโลกเกี่ยวกับเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy) ทำให้ตลาดของ rPET(รีไซเคิลเพท) ขยายตัวมากขึ้นจากปริมาณการบริโภคอาหาร เครื่องดื่มที่มีคาร์บอเนตและไม่มีคาร์บอเนตทั่วโลก ทั้งในตลาดของประเทศกำลังพัฒนา เช่น เอเชียตะวันออก เอเชียใต้คือจีนและอินเดีย ซึ่งมีประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของโลก

rPET Recycle

นอกจากนั้นหลายประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาพลาสติกที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก จึงส่งเสริมให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดรีไซเคิลได้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอัตราการนำขวดพลาสติกมารีไซเคิลสูงสุดของสหภาพยุโรปถึง 94% สำหรับในเอเชีย ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราการนำพลาสติกมารีไซเคิลถึง 83%

มีการนำ rPETมาใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหารในรูปแบบต่างๆด้วย เช่น ขวด เหยือก และบรรจุสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น เครื่องสำอาง สบู่ แชมพู โดยมีการคาดการณ์ว่าตลาดโลกปริมาณ rPETจะเพิ่มขึ้น 6.5% ใน ค.ศ.2019-2029 นอกจากนั้นยังมีแนวโน้มของโลกในการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืน (Subsatinable Packaging) และเหตุผลต่างๆดังนี้

  • ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม มีการใช้ขวด rPETเนื่องจากแข็งแรง ผลิตเป็นรูปร่างที่ต้องการตามขนาดที่กำหนด และราคาเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
  • มีเทคโนโลยีรองรับการผลิตขวด rPETในปริมาณมากและขนาดเป็นไปตามความต้องการ
  • อุตสาหกรรมเครื่องดื่มได้กำหนดให้ขวด rPETเป็นคำตอบที่ใช้กับเศรษฐิกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ Substainable Packaging ในการบรรจุเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ตั้งแต่น้ำ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ฯลฯ โพลิเอทิลีน เทเรพทาเลต (Polyethylene Terephthalate) หรือเรียกสั้นๆว่า PET เป็นพลาสติกที่ปลอดภัย มีความใส แข็งแรง และสามารถนำไปรีไซเคิลได้ โดยมีคุณสมบัติเหมือน PET ที่ยังไม่รีไซเคิล หรือเรียกว่า Virgin PET
recycle PET Plastic

ค.ศ. 2008 : ขวด PET ที่ใช้แล้วนำมารีไซเคิลและจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา 1.45 พันล้านปอนด์ อัตราการรีไซเคิลในสหรัฐอเมริกา 31.2% ใน ค.ศ. 2013

ค.ศ. 2012 : ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้นำขวด PET มารีไซเคิล 81%

ค.ศ. 2018 : ประเทศฟินแลนด์ได้นำขวด PET มารีไซเคิล 90%

อัตราส่วนการรีไซเคิลขวด PET ของโลก

ญี่ปุ่น
72%

สหภาพยุโรป
48%

สหรัฐอเมริกา
29%

อินเดีย
90%

การพัฒนา “F to P Direct Recycle Technology” ขวด rPET สำหรับบรรจุน้ำอัดลม

บริษัท Kyoei ได้นำ “F to P Direct Recycle Technology” มารีไซเคิลขวดพลาสติกและผลิต rPETขวดแรกในประเทศญี่ปุ่นด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบขวดสู่ขวด (Bottle to Bottle) ซึ่งเทคโนโลยีนี้ จะลดขั้นตอนการรีไซเคิลได้ 4 ขั้นตอน เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีเดิมและรีไซเคิล PET ได้ 100%

            เทคโนโลยี “F to P Direct Recycle Technology” เป็นการพัฒนาของบริษัท Kyoei บริษัท S.I.P.A.S.p.A. ประเทศอิตาลี เป็นบริษัทผลิตเครื่องมือการผลิตขวดพลาสติกโดยใช้พิมพ์ (Molding Equipment) บริษัท Erema GmbH ประเทศออสเตรีย ซึ่งเป็นบริษัทรีไซเคิลพลาสติกระดับโลก และบริษัท Suntory Beverage & Food Ltd. บริษัทผลิตอาหารและเครื่องดื่มขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งได้นำ rPETมาบรรจุชาอู่หลงวางตลาดใน ค.ศ. 2018

            ใน พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีการผลิตขวด PET ออกสู่ตลาดมากกว่า 185,000 ตัน และมีเพียงไม่ถึงครึ่งที่ถูกจัดเก็บและนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่เหมาะสม ขวดพลาสติกเกือบแสนตันต้องนำไปฝังกลบ และบางส่วนก็เล็ดลอดลงสู่ทะเล กลายเป็นขยะสร้างปัญหาให้กับระบบนิเวศและเป็นปัญหาในระดับโลก

F to P Direct Recycle Technology

ดังนั้น ภาครัฐของประเทศไทย โดยสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยาจึงมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 295 (2548) “ห้ามมิให้ใช้ภาชนะพลาสติกที่ใช้แล้วบรรจุอาหาร เว้นแต่ใช้เพื่อบรรจุผลไม้ชนิดที่ไม่รับประทานเปลือก” กำลังเร่งศึกษาแนวทางการรีไซเคิลเพท โดยใช้แนวทางของประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่นสหรัฐอเมริกาหรือ สหภาพยุโรป เพื่อพัฒนาเป็นแนวทางให้อุตสาหกรรมรีไซเคิลพลาสติกของประเทศไทยนำมาใช้ เป็นการตอบสนองนโนบายเศรศฐกิจหมุนเวียน และขยะพลาสติกของประเทศไทยต่อไป

Sources : นิตยสาร THAI PACKAGING NEWSLETTER Vol.31 No.146 March-April 2021
error: Copyright 2020 @ YUENYONG ENTERPRISE CO., LTD.
Scroll to Top